รายงานรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2565 TIP Report 2022

ประกาศ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2565

ประเทศไทย ได้รับการจัดระดับให้อยู่ใน TIER 2

 

เหตุผลที่ถูกยกระดับขึ้น Tier 2
ประเทศไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ แต่ยังมีความพยายามอย่างมีนัยสำคัญในการดำเนินการ และมีความพยายามเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเวลาการรายงานปี 2564 และเมื่อพิจารณาถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ดังนี้
1. การสืบสวนคดีค้ามนุษย์มีจำนวนเพิ่มขึ้น
2. การพัฒนากลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referal Mechanism: NRM) และระยะเวลาการฟื้นฟูไตร่ตรอง (Reflection Period)
3. การจัดทำคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ตามมาตรา 6/1 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. การริเริ่มสอบสวนเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 17 คน ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และพิพากษาลงโทษจำคุก จำนวน 2 คน
5. รัฐบาลจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์แห่งใหม่
6. การจัดทำแนวปฏิบัติสำหรับพนักงานตรวจแรงงานในการส่งต่อกรณีที่อาจเข้าข่ายการค้ามนุษย์ไปยังทีมสหวิชาชีพ และการระบุตัวผู้เสียหายได้จำนวนมากกว่าปี 2564

 

ประเทศไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ในหลายด้าน เช่น
1. ดำเนินคดีและพิพากษาลงโทษคดีค้ามนุษย์ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาการรายงานในปีที่ผ่านมา
2. แม้จะมีการรายงานว่า มีแรงงานบังคับอย่างแพร่หลายในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในหลายอุตสาหกรรมของประเทศไทย การสัมภาษณ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่ตรงกันในระหว่างการตรวจแรงงาน ทำให้มีแรงงานค้ามนุษย์จำนวนมากไม่ได้ถูกระบุตัว
3. เจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจในเรื่องข้อบ่งชี้ของการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
4. เจ้าหน้าที่ไม่เคยรายงานการระบุตัวผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานที่ได้จากการตรวจเรือประมงที่ท่าเรือ
5. ยังคงมีช่องว่างที่สำคัญในการจัดบริการของรัฐให้แก่ผู้เสียหาย และผู้เสียหายบางรายที่อยู่ในสถานคุ้มครองของรัฐ ขาดเสรีภาพในการเคลื่อนไหว
6. การทุจริตและการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ยังคงเป็นอุปสรรคในการต่อต้านการค้ามนุษย์

 


Share:



รายงานรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2564 TIP Report 2021

รายงานรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2564 TIP Report 2021 ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564

 

ประเทศไทย ได้รับการจัดระดับให้อยู่ใน TIER 2 Watch List

 

ความพยายามในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รัฐบาลมีความพยายามอย่างมีนัยสำคัญในการดำเนินการ เช่น
1. การพัฒนาความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์ และการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
2. การจัดการฝึกอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับพนักงานอัยการและผู้พิพากษาเกี่ยวกับกระบวนการที่คำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจ
3. การเริ่มสอบสวนกรณีเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 9 คน ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
4. การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาระยะเวลาฟื้นฟูและไตร่ตรองสำหรับผู้เสียหายและกลไกการส่งต่อระดับชาติ
5. การจัดตั้งหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อต่อต้านการแสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็กทางอินเทอร์เน็ต

 

เหตุผลที่ถูกลดระดับ
รัฐบาลไม่แสดงให้เห็นถึงความพยายามโดยรวมที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับระยะเวลาการรายงานในปี 2562
แม้จะพิจารณาถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อความสามารถในการต่อต้านการค้ามนุษย์ เช่น
1. สอบสวนคดีค้ามนุษย์และดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยน้อยลง
2. ตัดสินลงโทษผู้ค้ามนุษย์น้อยลง เมื่อเที่ยบกับปี 2562
3. แม้จะมีการรายงานอย่างแพร่หลายว่า พบแรงงานบังคับอยู่ในกลุ่มของแรงงานข้ามชาติในหลายอุตสาหกรรมของประเทศไทย แต่รัฐบาลสามารถระบุตัวผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานได้จำนวนน้อยเมื่อเทียบกับขอบเขตของปัญหา
4. เจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจเรื่องการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
5. รัฐบาลขาดขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสำหรับผู้ตรวจแรงงานในการส่งต่อคดีที่อาจเกิดขึ้นไปยังหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย
6. เจ้าหน้าที่ไม่เคยรายงานการระบุตัวผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงานที่เกิดจากการตรวจเรือประมงที่ท่าเรือ
7. การจัดบริการของรัฐในการดูแลผู้เสียหายยังคงมีไม่เพียงพอ
8. ผู้เสียหายบางรายที่อยู่ในสถานคุ้มครองของรัฐขาดอิสระในการเดินทางเข้า – ออกสถานคุ้มครอง
9. การทุจริตและการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการต่อต้านการค้ามนุษย์ และรัฐบาลได้ตัดสินลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 5 คน ในปี 2563

 


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial