รายงานรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2563 TIP Report 2020

รายงานรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2563 TIP Report 2020 ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2563

ประเทศไทย ได้รับการจัดระดับให้อยู่ใน TIER 2 ประเทศไทยยังคงเพิ่มความพยายามในการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์โดยรวมต่อเนื่อง

สรุปประเด็น ผลการดำเนินงานของประเทศไทย

  1. ด้านการดำเนินคดี
    – การออก พรก. แก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดลักษณะความผิดฐานบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และอัตราโทษ
    – การประชุมทวิภาคีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล/รวบรวมพยานหลักฐานในคดีค้ามนุษย์
    – ศาลยอมรับคำให้การล่วงหน้าและคำให้การทางวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี
    – การฝึกอบรมทีมสหวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม ในการดำเนินคดีค้ามนุษย์ และคำนึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหาย
    – การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐ NGOs และองค์กรภาคประชาสังคมในการดำเนินคดีค้ามนุษย์และคดีบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
  2. ด้านการคุ้มครอง
    – หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันพัฒนาแบบคัดแยกสำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
    – รัฐบาลเปิดศูนย์คุ้มครองเด็กแห่งใหม่เพิ่ม 2 แห่ง เพื่อการจัดบริการที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก รวมเป็น 7 แห่งทั่วประเทศ
    – ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ไดรับการเยียวยาจากเงินกองทุนฯ จำนวน 11.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 6.15 ล้านบาทในปี 2018 และได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำผิด จากการพิพากษาในชั้นศาล จำนวน 3.33 ล้านบาท
    – การพัฒนา Mobile Application “Protect-U” สำหรับผู้เสียหาย/พยาน เพื่อขอรับการช่วยเหลือร่วมถึงการใช้งานล่ามและการแจ้งสิทธิ 7 ภาษา
    – การอบรมการดูแลบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง
  3. ด้านการป้องกัน
    – รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จำนวน 3,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มีจำนวน 3,640 ล้านบาท
    – จัดกิจกรรมสร้างความตะหนักรู้ให้กับนักเรียน ครู และผู้นำชุมชน รวมทั้งจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อบ่งชี้ ช่องทางการแจ้งเบาะแส เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ และบนเครื่องบิน
    – จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานภาครัฐ NGOs INGOs เพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
    – เปิดศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง 5 แห่ง เพื่อช่วยแรงงานต่างด้าว ตามระบบ MOU มีความรู้เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ สิทธิ วัฒนธรรม การทำสัญญาจ้างงาน และกลไกในการ้องทุกข์ร้องเรียน
    – ดำเนินการร่วมกับรัฐบาลต่างประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีประวัติการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กเดินทางเข้ามาในประเทศ


Share:



รายงานรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2562 TIP Report 2019

รายงานรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2562 TIP Report 2019 ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2562

ประเทศไทย ได้รับการจัดระดับให้อยู่ใน TIER 2 ประเทศไทยได้เพิ่มความพยายามในการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์โดยรวมมากขึ้น

สรุปประเด็น ผลการดำเนินงานของประเทศไทย

  1. ด้านการดำเนินคดี
    – รัฐบาลรักษาระดับความพยายามในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
    – บทลงโทษมีความเข้มงวดเพียงพอ
    – มีการตัดสินลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์จำนวน 16 คน และใช้มาตรการลงโทษทางบริหาร เช่น ให้ออกจากราชการ
    – รัฐบาลได้ยึด/อายัดทรัพย์สินจำนวนมากกว่า 509 ล้านบาท
    – ศาลไทยยอมรับคำให้การล่วงหน้าและคำให้การทางวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี
    – รัฐบาลทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และองค์การพัฒนาเอกชน โดยพัฒนาคู่มือและแนวทางการทำงาน/การฝึกอบรม
  2. ด้านการคุ้มครอง
    – รัฐบาลได้เพิ่มความพยายามในการคุ้มครองผู้เสียหายโดยกระทรวง พม. ให้ความช่วยเหลือทั้งค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ความช่วยเหลือทางกฎหมาย จัดหางานให้ทำ และส่งกลับคืนสู่สังคม/ประเทศต้นทาง
    – มีการจัดฝึกอบรมแก่ทีมสหวิชาชีพเกี่ยวกับการคัดแยกผู้เสียหาย เทคนิคการสัมภาษณ์และหลักการดูแลที่คำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจ มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    – รัฐบาลได้จัดทำคู่มือแจ้งสิทธิ 7 ภาษา ให้ผู้เสียหายทราบ
    – เยียวยาผู้เสียหายจากกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จำนวน 6.15 ล้านบาท
    – ได้เริ่มใช้การรายงานผลกระทบจากการตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (Victim Impact Statement) ในศาลเพื่อช่วยให้ผู้เสียหายได้รับค่าสินไหมทดแทน
  3. ด้านการป้องกัน
    – รัฐบาลรณรงค์อย่างต่อเนื่องในการสร้างความตระหนักรู้ต่อปัญหาการค้ามนุษย์ผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สื่อออนไลน์ และป้ายประชาสัมพันธ์
    – การให้บริการโทรศัพท์สายด่วนรับแจ้งเหตุ ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาต่างประเทศ 12 ภาษา และนำไปสู่การดำเนินคดีค้ามนุษย์
    – การระงับใบอนุญาตและยึดทรัพย์บริษัทจัดหางานที่กระทำผิดและดำเนินคดีกับนายหน้าเถื่อน
    – การโอนค่าจ้างให้กับแรงงาน โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ตรวจสอบการจ่ายค่าจ้างให้กับแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    – รัฐบาลได้พยายามดำเนินมาตรการลดอุปสงค์ธุรกิจบริการทางเพศ เพื่อลดการท่องเที่ยวทางเพศกับเด็ก และปฏิเสธการเข้าประเทศของชาวต่างชาติทีเป็นผู้กระทำผิดทางเพศ
    – ฉายวีดิทัศน์รณรงค์ลดอุปสงค์การท่องเที่ยวทางเพศ


Share:



5 เทคนิคการสัมภาษณ์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

เทคนิคการสัมภาษณ์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

การสัมภาษณ์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ คือกระบวนการสำคัญในการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อคัดแยกบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการถูกกระทำในความผิดฐานค้ามนุษย์ เพื่อคุ้มครองดูแลให้เกิดความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากความบอบช้ำภายในจิตใจที่ยากจะรับมือได้ และความเสียหายด้านร่างกายที่อาจจะโดนขบวนการค้ามนุษย์ทำร้ายมาอย่างยาวนานก่อนที่จะสามารถจับกุมผู้กระทำผิดและช่วยเหลือผู้เสียหายออกมาได้ การสัมภาษณ์คัดแยกเหยื่อค้ามนุษย์จึงเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องศึกษาเรียนรู้ รวมถึงการผนวกกับประสบการณ์ของผู้สัมภาษณ์ ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากขึ้น จึงได้สรุปเทคนิคในการสัมภาษณ์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไว้ ดังนี้

 

1. การสัมภาษณ์ผู้เสียหายจะต้องมีระดับสายตาเท่ากันหรือต่ำกว่าผู้เสียหาย เพื่อให้ผู้เสียหายรู้สึกผ่อนคลาย

2. ยอมรับความแตกต่างของบุคคล เช่น ผู้เสียหายนั่งไม่เรียบร้อยก็ไม่ควรต่อว่า อาจทำให้ผู้เสียหายรู้สึกไม่ดีและไม่พร้อมให้การสัมภาษณ์

3. ทีมผู้สัมภาษณ์ต้องวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้เสียหายทุกอย่าง ว่ามีข้อมูลจริงเท็จอย่างไร เพราะในบางครั้งขบวนการค้ามนุษย์ได้ซักซ้อมกับผู้เสียหายไว้ว่าถ้าโดนจับห้ามซัดทอด และให้กาาตามรูปแบบที่ขบวนการกำหนด

4. การเขียนไทม์ไลน์ (Time line) จะช่วยให้เรียงลำดับข้อเท็จจริงได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผู้เสียหายฯ มักให้การวกไปวนมา ไม่มีการเรียงลำดับข้อมูล

5. ห้ามสัญญา หรือบอกกล่าวกับผู้เสียหาย ในเรื่องที่ยังไม่มีกำหนดแน่นอน เช่น สัญญาว่า “เข้าไปอยู่ในสถานคุ้มครองนะ สัปดาห์เดียวก็ได้ออกแล้ว” เป็นต้น

 

เสฎฐวุฒิ วรรณคง นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

สถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดระนอง


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial