รายงานรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2563 TIP Report 2020

รายงานรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2563 TIP Report 2020 ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2563

ประเทศไทย ได้รับการจัดระดับให้อยู่ใน TIER 2 ประเทศไทยยังคงเพิ่มความพยายามในการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์โดยรวมต่อเนื่อง

สรุปประเด็น ผลการดำเนินงานของประเทศไทย

  1. ด้านการดำเนินคดี
    – การออก พรก. แก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดลักษณะความผิดฐานบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และอัตราโทษ
    – การประชุมทวิภาคีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล/รวบรวมพยานหลักฐานในคดีค้ามนุษย์
    – ศาลยอมรับคำให้การล่วงหน้าและคำให้การทางวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี
    – การฝึกอบรมทีมสหวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม ในการดำเนินคดีค้ามนุษย์ และคำนึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหาย
    – การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐ NGOs และองค์กรภาคประชาสังคมในการดำเนินคดีค้ามนุษย์และคดีบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
  2. ด้านการคุ้มครอง
    – หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันพัฒนาแบบคัดแยกสำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
    – รัฐบาลเปิดศูนย์คุ้มครองเด็กแห่งใหม่เพิ่ม 2 แห่ง เพื่อการจัดบริการที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก รวมเป็น 7 แห่งทั่วประเทศ
    – ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ไดรับการเยียวยาจากเงินกองทุนฯ จำนวน 11.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 6.15 ล้านบาทในปี 2018 และได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำผิด จากการพิพากษาในชั้นศาล จำนวน 3.33 ล้านบาท
    – การพัฒนา Mobile Application “Protect-U” สำหรับผู้เสียหาย/พยาน เพื่อขอรับการช่วยเหลือร่วมถึงการใช้งานล่ามและการแจ้งสิทธิ 7 ภาษา
    – การอบรมการดูแลบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง
  3. ด้านการป้องกัน
    – รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จำนวน 3,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มีจำนวน 3,640 ล้านบาท
    – จัดกิจกรรมสร้างความตะหนักรู้ให้กับนักเรียน ครู และผู้นำชุมชน รวมทั้งจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อบ่งชี้ ช่องทางการแจ้งเบาะแส เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ และบนเครื่องบิน
    – จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานภาครัฐ NGOs INGOs เพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
    – เปิดศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง 5 แห่ง เพื่อช่วยแรงงานต่างด้าว ตามระบบ MOU มีความรู้เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ สิทธิ วัฒนธรรม การทำสัญญาจ้างงาน และกลไกในการ้องทุกข์ร้องเรียน
    – ดำเนินการร่วมกับรัฐบาลต่างประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีประวัติการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กเดินทางเข้ามาในประเทศ


Share: